งานวิจัยและบริการวิชาการ
คณะวิทยาการจัดการ

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น ภายใต้โครงการรำร่องของวิทยาลัยครูยะลา สังกัดกรมการฝึกหัดครู ได้ทดลองเปิดสอนวิชาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ครุศาสตร์โดยอิงหลักสูตรครูประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง ในการดำเนินการในระยะทดลอง ต่อมาได้ มีพระราชบัญญัติจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการโดย กรมการฝึกหัดครู ได้ปรับปรุง “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู” ทำให้ปรับปรุงโครงสร้าง ให้มีการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ และ ปรับปรุงโครงสร้างคณะใหม่  คณะวิทยาการจัดการมีการแบ่งส่วนราชการเป็น สำนักงานคณะและภาควิชา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2547  สถาบันราชภัฏยะลา  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ยกฐานะสถาบัน ขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นผลให้สถานะของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานในสังกัด จำต้องปรับบริบทการดำเนินงาน การบริหารงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาบัณฑิตและสังคมมากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ คณะวิทยาการจัดการ จึงได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานคณะวิทยาการจัดการ ตามโครงสร้างการบริหารจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้กำหนดให้คณะวิทยาการจัดการ กำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงานของสำนักงานคณบดีคณะวิทยาการจัดการ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารงาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงกำหนดเป็น 4 กลุ่มงาน ดังนี้
1.    งานบริหารงานทั่วไป
2.    งานพัฒนานักศึกษา
3.    งานวิชาการ
4.    งานวิจัยและบริการวิชาการ
    โดยสามารถอธิบายหน้าที่และบทบาทของแต่ละงาน ดังนี้
1.    งานบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณ ธุรการ งานประชุม การเงิน พัสดุ งานอาคารสถานที่ภายใน งานสวัสดิการและงานอื่นๆ ในด้านการบริหารจัดการองค์กร
2.    งานพัฒนานักศึกษา มีหน้าที่ ดำเนินเกี่ยวกับโครงการ กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา งานแนะแนวและจัดหางาน ทุนการศึกษา ควบคุมดูแลการให้บริการเกี่ยวกับสวัสดิการนักศึกษาด้านต่าง ๆ ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
3.    งานวิชาการ มีหน้าที่  พัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน  วางแผนการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการจัดการเรียนการ งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ งานบริการแนะนำนักศึกษา ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษา ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 
4.    งานวิจัยและบริการวิชาการ มีหน้าที่ จัดทำแผนวิจัย การผลิตงานวิจัย การเผยแพร่งานวิจัย การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย การสร้างและประสานงานเครือข่ายจัดทำแผนบริการวิชาการของสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจฯประสานงาน ร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการให้บริการวิชาการเป็นศูนย์หรือแหล่งเรียนรู้ ให้กับบุคลภายในและภายนอก