ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
|

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปฏิบัติภารกิจทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ต่อมาได้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์ตามประกาศระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม พ.ศ.2524 ตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดยะลาไปพร้อม ๆ  กันด้วย นับจากมีการใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2528 สถาบันราชภัฏยะลาเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีภารกิจหลัก  6  ประการ  และหนึ่งในภารกิจดังกล่าวนั้น คือ การ “ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม”โดยมีชื่อประกาศจัดตั้งเป็น “สำนักศิลปวัฒนธรรม” และเมื่อได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เมื่อวันที่ 15  มิถุนายน  2547  ภารกิจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้โดยมุ่งเน้นด้านการวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติภารกิจดังกล่าวสำนักศิลปวัฒนธรรมจึงได้เปลี่ยนเป็น“ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม”  ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549  เรื่อง การจัดโครงสร้างการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ในเรื่องของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 

คณะวิทยาการจัดการ ภายใต้หน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงมีพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสนองต่อนโยบายโครงสร้างการบริหารงานภายในของมหาวิทยาลัย โดยคณะวิทยาการจัดการ ได้กำหนดแผน นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพันธกิจการดำเนินงาน ดังนี้ 1) พัฒนาต้นแบบการจัดการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์  2) สร้างงานวิจัย นวัตกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี และความรู้สู่ชุมชน  3)พัฒนานักศึกษาตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์  4) พัฒนาองค์กร สร้างระบบประกันคุณภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) บริการวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

           ทั้งนี้ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะวิทยาการจัดการ ได้มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนางานวิจัยที่มีการบูรณาการกับการจัดการ เรียนการสอนและ/หรือการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนางานวิจัยจากแหล่งทุนทั้งภายในแลละ ภายนอกมหาวิทยาลัยในลักษณะวิจัยเดี่ยวและ/หรือวิจัยชุดโครงการ
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการความรู้จากผลงานวิจัยและงาน สร้างสรรค์
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งใน ระดับชาติและนานาชาติ
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความร่วมมือหรือสร้างเครือข่ายบริการวิชาการ และ โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน หรือภาครัฐ ภาคเอกชน หรือ หน่วยงานวิชาชีพต่างๆ
  7. ส่งเสริมให้มีการบูรณาการงานด้านทำนุศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียน การสอนและกิจกรรมนักศึกษา
  8. ส่งเสริมให้มีการจัดโครงการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ
  9. ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่หรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อ สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ