หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ธุรกิจเเละนวัตกรรมการสื่อสาร

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ชื่อ : คณะวิทยาการจัดการ (Faculty of Management Sciences)
ที่ตั้ง : อาคาร 23 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
 
ประวัติและพัฒนาการของคณะวิทยาการจัดการ
 
พ.ศ. 2525 : โครงการนำร่อง เพื่อจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการวิทยาลัยครูยะลา และวิทยาลัยครูอื่น ๆ ซึ่งสังกัดกรมการฝึกหัดครูได้ทดลองเปิดสอนวิชาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ครุศาสตร์โดยอิงหลักสูตรครูประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) สำหรับวิทยาลัยครูยะลา เปิดสอน 2หลักสูตร คือ 
1. ครู ป.กศ.สูง วิชาเอกการสหกรณ์ 
2. ครู ป.กศ.สูง วิชาเอกวารสารและการประชาสัมพันธ์ 
 
การดำเนินการในระยะทดลอง โดยระดมอาจารย์ในภาควิชาต่างๆ ของ คณะมนุษยศาสตร์และ คณะวิทยาศาสตร์ ด้วยการส่งไปฝึกอบรม และกลับมาช่วยกันจัดการสอน ในเวลานั้น วิทยาลัยครูยะลาได้เพิ่มส่วนงานภายใน ขึ้นใหม่2 หน่วยงาน คือ
- ภาควิชาสหกรณ์ 
- ภาควิชาวารสารและการประชาสัมพันธ์
 
พ.ศ. 2528  มี พ.ร.บ.จัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ
กรมการฝึกหัดครู ได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูเป็น “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 พ.ศ.2527” ทำให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศ มีภาระและหน้าที่เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในด้านการจัดการศึกษาในสาขาวิชาการต่าง ๆ และผลิตครูถึงระดับปริญญาตรีวิทยาลัยครูทุกแห่ง ได้ปรับปรุงโครงสร้าง ให้มี “คณะวิทยาการจัดการ” ขึ้นอีก 1 คณะ 
สำหรับคณะวิทยาการจัดการวิทยาลัยครูยะลา ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนักงานกับ 5 ภาควิชา คือ 
- สำนักงานคณะวิชา 
- ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์ 
- ภาควิชาการเงินและบัญชี 
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ 
- ภาควิชาการตลาด 
- ภาควิชาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์
หลักสูตรที่เปิดสอน : เปิดสอนสาขาศิลปศาสตร์ 2 หลักสูตร คือ
1. อนุปริญญาบริหารธุรกิจ
2. อนุปริญญาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์
 
พ.ศ. 2531 เปิดการสอนสาขาศิลปศาสตร์ สายบริหารธุรกิจและการจัดการ โปรแกรมการจัดการทั่วไป ระดับปริญญาตรี แขนงการบัญชี การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการท่องเที่ยว 
 
พ.ศ.2535 กรมการฝึกหัดครู ได้ปรับปรุงหลักสูตรของวิทยาลัยครู ฉบับ พ.ศ.2528 (ปรับปรุง 2531) ใหม่ เป็น “หลักสูตรของวิทยาลัยครู พ.ศ.2536”
 
พ.ศ.2538  ปรับปรุงโครงสร้างคณะใหม่ 
วิทยาลัยครู เปลี่ยน สถานภาพเป็น “สถาบันราชภัฏ” คณะวิทยาการจัดการแบ่งส่วนราชการเป็น สำนักงานคณะวิชา และภาควิชา เหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนชื่อภาควิชาดังนี้ 
- ภาควิชาบริหารธุรกิจ (ตัดคำว่า “สหกรณ์” ออก) 
- ภาควิชาการเงินและบัญชี 
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ 
- ภาควิชาการตลาด 
- ภาควิชานิเทศศาสตร์
 
หลักสูตรที่เปิดสอน : คณะวิทยาการจัดการ ได้เปิดสอนหลักสูตร สาขาศิลปศาสตร์สายบริหารธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากที่เปิดสอนอยู่เดิมอีกหลักสูตรหนึ่ง
 
พ.ศ.2541 คณะวิทยาการจัดการ ได้เปิดสอน หลักสูตรปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
 
พ.ศ.2543 กรมการฝึกหัดครูได้ประกาศใช้หลักสูตร สถาบันราชภัฏฉบับปรับปรุง พ.ศ.2543 และในปีเดียวกัน กรมการฝึกหัดครู ร่วมกับสถาบันราชภัฏทั่วประเทศได้ดำเนินการขอเปลี่ยน ชื่อหลักสูตร “สาขาศิลปศาสตร์”ที่ใช้เปิดสอนอยู่ ให้เป็น “สาขาบริหารธุรกิจ” และ ก.พ.ได้รับรองตามเลขที่รับรอง นร. 0708.8/792 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ยังผลให้บัณฑิตซึ่งศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป และสำเร็จการศึกษาในปี 2545 ได้รับวุฒิ“บริหารธุรกิจบัณฑิต” ซึ่งได้สร้างความปราบปลื้มแก่บัณฑิตราชภัฏโดยถ้วนหน้ากัน
 
พ.ศ. 2547 วันที่ 15 มิถุนายน 2547 สถาบันราชภัฏยะลา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกฐานะสถาบัน ขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมๆ กับสถาบันราชภัฏอื่นทั่วประเทศอีก 40 แห่ง
 
พ.ศ.2551 คณะวิทยาการจัดการ ได้เปิดสอน หลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ
 
การผลิตบัณฑิตในปัจจุบัน
คณะวิทยาการจัดการ ดำเนินการ ผลิตบัณฑิต 2 ประเภท คือ ภาคปกติ และภาค กศ.บป. โดยผลิตใน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
 
1) หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต ผลิต 2 สาขา ได้แก่ 
1. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
2. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศนและสื่อดิจิทัล 

2) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 8 หลักสูตร
1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ                                                                  
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด    
3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี    
4. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  
5. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว      
6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ              
7. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ 
8. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร  

3) หลักสูตรปริญญาโท 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

หลักสูตรใหม่กำหลังพัฒนา
1. หลักสูตรการบัญชีมหาบัณฑิต
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์