ศูนย์ศึกษาวิจัยความเป็นเลิศ
ด้านเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมบริการ : Betong Learning Center of YRU
|

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของอำเภอส่วนใหญ่เน้นการทำสวนยางพาราเป็นหลัก และมีการเลี้ยงปศุสัตว์ อาทิ ไก่สายพันธุ์พื้นเมือง และแพะ เป็นต้น นอกจากนี้ ในปัจจุบันทางรัฐบาลได้มีการส่งเสริมและลงทุนในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในอำเภอ อาทิเช่น อุโมงค์ปิยะมิตร บ่อน้ำร้อน ทะเลหมอก เป็นต้น

อุตสาหกรรม[แก้ไขต้นฉบับ]

ในปี 2550 อำเภอเบตงมีโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 23 โรงงาน จำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้น 421,130,472 ล้านบาท มีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 665 คน โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอื่น ๆ[11]

เกษตรกรรม[แก้ไขต้นฉบับ]

 
สวนดอกไม้เมืองหนาว หมู่บ้านปิยะมิตร 2
 
บริเวณสวนดอกไม้เมืองหนาว

ในปี 2554 อำเภอเบตงมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรจำนวน 436,076 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรได้ดังนี้[12]

จึงทำให้อำเภอเบตงเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา สัมโชกุน ดอกไม้เมืองหนาว ผักน้ำ ทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ เป็นต้น ตัวอย่างเช่นในหมู่บ้านปิยะมิตร 2 ซึ่งมีอากาศหนาวทำให้ปลูกยางพาราไม่ได้ผล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จเยือนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ทรงแนะนำแนวทางปลูกไม้เมืองหนาว ทำให้หุบเขาดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีดอกไม้เมืองหนาวหลากสีเช่นเดียวกับบนดอยทางภาคเหนือ[13]

จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของอำเภอเบตงขึ้นอยู่ผลิตด้านยางพาราเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าปีใดยางพารามีราคาสูง ปีนั้นอำเภอเบตงก็มีเศรษฐกิจที่ดี เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีกำลังซื้อสูงตามไปด้วย จึงส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมของอำเภอเบตงดีขึ้น แต่ถ้าปีใดที่ราคายางพารา ราคาตกต่ำ ปีนั้นอาจทำให้เศรษฐกิจของอำเภอเบตงซบเซาบ้างเล็กน้อย[14]

การธนาคาร[แก้ไขต้นฉบับ]

 
ป้ายใต้สุดสยาม
 
อาคารด่านศุลกากรเบตง และด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง

สถาบันการเงินในอำเภอเบตงมีธนาคารจำนวน 9 สาขา แยกเป็นธนาคารพาณิชย์ 7 สาขา และธนาคารของรัฐ 3 สาขา ดังนี้

ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารของรัฐ