ศูนย์ศึกษาวิจัยความเป็นเลิศ
ด้านเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมบริการ : Betong Learning Center of YRU
|

ประชากร

ปัจจุบันอำเภอเบตงมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 62,523 คน (นับปีพ.ศ. 2560) ประกอบด้วยคนไทยหลากหลายเชื้อชาติ เป็นชาวมลายูปัตตานี, คนไทย (ทั้งไทยสยามและคนไทยเชื้อสายจีน เช่น กวางไส ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว จีนแคะ)[2] โดยได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเกิดการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างลงตัว

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
อำเภอเบตง พ.ศ. 2560
[6]
ตำบล
ชาย (คน)
หญิง (คน)
รวม (คน)
จำนวนบ้าน (หลัง)
ตำบลยะรม 5,129 5,137 10,266 4,274
ตำบลตาเนาะแมเราะ 4,879 4,557 9,436 4,375
ตำบลอัยเยอร์เวง 6,199 5,504 11,703 4,644
เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ 2,350 2,105 4,455 1,740
เทศบาลเมืองเบตง 12,847 13,816 26,663 11,097
รวม
31,404 31,119 62,523 26,130


เดิมพื้นที่อำเภอเบตงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปัตตานี จึงทำให้ประชาชนดั้งเดิมของอำเภอเบตงนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายามาก่อน ต่อมาในปีพุทธศักราช 2443 ได้มีชาวจีนกลุ่มแรกที่เดินทางจากประเทศจีนโดยนำเรือมาขึ้นฝั่งประเทศมาเลเซียแล้วเดินทางเท้า หรือนั่งเกวียนเข้ามายังพื้นที่อำเภอเบตง ชาวจีนส่วนใหญ่เมื่อเข้ามาในอำเภอเบตงก็ได้รับจ้างถางป่าหักร้างถางพงผืนป่า หลังจากนั้นก็มีชาวจีนอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ อาจกล่าวได้ว่าชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางสี ซึ่งเป็นมณฑลหนึ่งของจีนที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีนซึ่งมีดินแดนบางส่วนติดกับประเทศเวียดนามเป็นกลุ่มชาวจีนกลุ่มใหญ่ที่สุดในอำเภอเบตงที่มีส่วนบุกเบิกอำเภอเบตงมากที่สุด ซึ่งเรียกกลุ่มตนเองว่า กวางไส (廣西) ซึ่งในปัจจุบันชาวจีนในอำเภอเบตงมีหลากหลายกลุ่ม เช่น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ฮากกา และแต้จิ๋วภาษา[แก้ไขต้นฉบับ]

ปัจจุบันอำเภอเบตงภาษาหลายชนิดโดยไม่มีภาษาใดโดดเด่นที่สุดโดยภาษาต่างๆถูกใช้กับแต่ละชุมชนได้แก่ ภาษาไทยกลางใช้ในชุมชนคนไทยเชื้อสายแต้จิ๋วและแคะ ภาษาไทยใต้ใช้ในกลุ่มคนไทยสยามและคนไทยเชื้อสายฮกเกี้ยน ภาษามลายูปัตตานีใช้กับชาวมลายู ส่วนผู้สูงอายุส่วนหนึ่งใช้ภาษาแต้จิ๋วและภาษาจีนแคะ

 
มัสยิดกลางอำเภอเบตง

ศาสนา[แก้ไขต้นฉบับ]

ศาสนาในเบตง (พ.ศ. 2561)[7]
ศาสนา   ร้อยละ
อิสลาม
  
52.9%
พุทธ
  
46.4%
อื่น ๆ
  
0.7%

อำเภอเบตงประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติและศาสนาหรือที่เรียกว่าสังคมพหุลักษณ์ แบ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่สามกลุ่มคือ ชาวไทยเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยพุทธ ซึ่งสัดส่วนของบุคคลเชื้อสายมลายูและบุคคลเชื้อสายจีนมีสัดส่วนสูงกว่าไทยพุทธ กระนั้นประชากรทั้งสามกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และไม่มีความขัดแย้งดังพื้นที่อื่น ๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[8]

จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2554 พบว่าประชากรส่วนใหญ่ของเบตงนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 51 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 47 และอื่น ๆ ร้อยละ 2[9] และการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2561 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 52.9 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 46.4 และศาสนาอื่น ๆ (ได้แก่ศาสนาคริสต์และฮินดู) ร้อยละ 0.7[7] สำนักงานสถิติจังหวัดยะลารายงานว่า ใน พ.ศ. 2560 ในอำเภอมีเบตงมีมัสยิด 33 แห่ง วัดพุทธ 6 แห่ง สำนักสงฆ์ 7 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 3 แห่ง[10]